ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
bulletประเภทของพียูโฟม
bulletคุณสมบัติพิเศษของพียูโฟม
bulletความหมายของพียูโฟม
bulletประโยชน์ของพียูโฟม
dot
dot
bulletโพลียูรีเทน/โพลียูรีเทนโฟม/โพลียูรีเทนคืออะไร
bulletฉนวนเก็บความเย็น/ฉนวนกันความเย็น
bulletฉนวนความร้อน/พ่นพียูโฟม
bulletฉนวนกันความร้อนหลังคา/ฉนวนกันร้อนใต้หลังคา
bulletสเปรย์โฟม/กันรั่ว/กันซึม/โพลียูรีเทน
bulletฉนวนกันสนิม/พ่นโฟมกันสนิม/ฉนวนป้องกันสนิม
bulletฉนวนหุ้มท่อ/ฉนวนหุ้มถัง
bulletพียูโฟม/ติดตั้งฉนวนกันความร้อน/โพลียูรีเทน
bulletพ่นโฟมกันร้อน/พียูโฟมกันร้อน/พ่นโฟมลดร้อน
bulletฉนวนกันความร้อน/ฉนวนประหยัดพลังงาน
bulletฉนวนกันโรงงานร้อน/ฉนวนกันบ้านร้อน/ฉนวนกันสำนักงานร้อน
bulletฉนวนกันความร้อน/ฉนวนกันร้อน/โฟมกันร้อน
dot
dot
bulletความหมายโพลียูเรีย
dot
ฉนวนกันความร้อนเซรามิคโค้ตติ้ง
dot
bulletความหมายสีกันร้อนเซรามิคโค้ตติ้ง
bulletกันรั่ว/กันซึม
bulletสีประหยัดพลังงาน/สีกันร้อน
bulletข้อมูลเทคนิคสีเซรามิคโค้ตติ้ง
bulletสีเซรามิคโค้ตติ้งทำงานยังไง
bulletบ้านรั่ว/บ้านซึม
bulletสีสะท้อนความร้อนเซรามิคโค้ตติ้ง/สีสะท้อนความร้อน
dot
dot
bulletความหมายฉนวนกันร้อนพี.อี.โฟม
bulletโฟมพีอี/แผ่นฉนวนพีอี
bulletพีอีติดหลังคา/พีอีหุ้มท่อ
bulletฉนวนโฟม PE/Polyethelene Foam
bulletแผ่นฉนวนกันความร้อน PE/โฟมเคลือบฟอยล์ลดความร้อน
bulletฉนวนพีอีโฟม/ฉนวน PE FOAM
dot
ฉนวนเยื่อกระดาษ
dot
bulletดูดซับเสียง/ควบคุมเสียง
bulletลดเสียงดัง/กันเสียง
bulletฉนวนกันร้อน/ฉนวนกันเย็น
bulletฉนวนกันเสียง/ฉนวนป้องกันเสียง/โฟมกันเสียง
bulletพ่นโฟมกันเสียง/พ่นโฟมกันบ้านร้อน
bulletคุณสมบัติฉนวนกันร้อนเยื่อกระดาษ
dot
dot
bulletฉนวนกันร้อนช่วยประหยัดพลังงานอย่างไร
bulletการออกแบบระบบการทำงานของฉนวนกันร้อน
bulletภาวะโลกร้อน/โรงงานร้อน/บ้านร้อน/อาคารร้อน
bulletโลกร้อนเกิดจากอะไร
bulletผลกระทบที่เกิดจากโลกร้อน/วิธีแก้ปัญหา
dot
dot
dot
dot
dot
dot


ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน  ฉนวนกันเสียง
ฉนวนกันความร้อน กันรั่ว กันซึม
www.sf-foam.com


โพลียูรีเทน/โพลียูรีเทนโฟม/โพลียูรีเทนคืออะไร

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ฉนวนกันความร้อน พี.ยู.โฟม

1)   รูปแบบทางกายภาพ (Physical Forms)
      ขึ้นรูปตามวัสดุหรือชิ้นงานที่พ่น เช่นพ่นติดกับวัสดุที่เป็นกระเบื้อง ก็จะขึ้นลอนตามรูปกระเบื้อง ถ้าอัดแบบตามรูปทรงที่กำหนดก็จะได้ตามความต้องการรูปแบบทางกายภาพของฉนวนกันความร้อนมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานได้ตามต้องการเช่นฉนวนแบบแผ่น แบบพ่น แบบฉีด ฯลฯการเลือกใช้ฉนวนจะต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งานและตำแหน่งที่ติดตั้ง นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายความแข็งแรงคงทนร่วมด้วยตัวอย่างการเลือกใช้งานฉนวนทีมีรูปแบบทางด้านกายภาพแตกต่างกันเช่น ใช้ฉนวนโฟมชนิดพ่นสำหรับด้านบนหลังคา หรือผนังภายนอกหรืพ่นภายในอาคาร

2) ความแข็งแรงทางกล (Mechanical Strengh) ความหนาแน่น(Density)
      ไม่ยุบตัวเมื่อมีแรงกดทับ มีความหนาแน่น   35-40 กก/ลบ.ม เป็นโฟมแข็งเรียกว่า ริจิดโฟม (Rigid Foam) ไม่อุ้มน้ำเมื่อโดนฝน หรือหลังคารั่ว ไม่เสื่อมสลายในสารละลายทุกชนิด มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเท่ากับอายุของหลังคา ความสามารถของฉนวนในการทนทานต่อแรงต่างๆหลายรูปแบบ ดังนี้
# การรับน้ำหนัก และแรงอัด
# ความต้านทานต่อแรงดึงและแรงเฉือน
# ทนต่อการกระแทก และสั่นสะเทือน
# ทนต่อการบิดงอ
       ซึ่งความสามารถดังกล่าวของฉนวนจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ความหนาแน่น ขนาดของเซลล์ ขนาดและการจัดเรียงตัวของเส้นใยชนิดของฉนวน และปริมาณของตัวประสาน นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมในการใช้งาน

3)  อุณหภูมิการใช้งานที่เหมาะสม (Suitability For Service) 
     ผลของการเพิ่มหรือลดความหนาแน่นให้กับฉนวน ทำให้เชลล์ชิดกันหรือห่างกันนั้น เป็นผลทำให้สภาพการนำความร้อนปรากฏจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเช่นกัน ดังนั้นฉนวนกันความร้อน-เย็น มีค่าความหนาแน่นที่เหมาะสมที่ดีค่าหนึ่งเท่านั้น คือ 35 กก./ลบ.ม เท่านั้นจึงมีน้ำหนักเบา ไม่สร้างปัญหาให้กับโครงสร้างแต่อย่างใดมีค่าสภาพการนำความร้อนต่ำที่สุดและมีค่าต้านทานความร้อนสูงที่สุดเช่นกัน เนื่องจากฉนวนแต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดด้านอุณหภูมิในการใช้ง่านที่แตกต่างกันหากเลือกใช้ไม่เหมาะมักจะเกิดปัญหาการเสื่อมสภาพของฉนวนได้การแบ่งระดับของอุณหภูมิในการใช้งานของฉนวนทำได้  

4)    การขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน (Thermal Expansion)
       เมื่อฉนวนกันความร้อนได้รับความร้อนหรือเย็น จะมีการขยายตัวและหดตัว(Flexible) ตามวัสดุชิ้นงาน จะไม่มีการฉีกขาดเสียหาย เกิดขึ้น เมื่อหลังคาหรือคอนกรีตหดตัวหรือขยายตัว การขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนของฉนวน อาจทำให้ประสิทธิภาพของฉนวนเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการเลือกใช้ฉนวนจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งอาจพิจารณาได้จากอุณหภูมิของการใช้งานที่เหมาะสมข้างต้น โดยใช้ฉนวนที่มีอุณหภูมิใช้งาน ตรงตามความต้องการเพื่อให้การใช้งานฉนวนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

5) ความสามารถในการต้านทานความร้อน(Thermal Resistivity)
        ฉนวนป้องกันความร้อน พี.ยู.โฟม มีโครงสร้างเป็นเซลล์ปิด (Close Cell) มีความสามารถสกัดกั้น ความร้อนได้มากกว่า 90% สามารถป้องกันความร้อน(Block Heat Transfer) จากภายนอก การส่งผ่านความร้อน(Heat Transfer) จากหลังคาเข้าสู่ตัว อาคาร ด้วยการนำ(Conducting) การพา(Convecting) และการแผ่รังสีความร้อน(Radaiting) ได้เป็นอย่างดี  ฉนวนป้องกันความต้องมีความสามารถในการต้านทานความร้อนดูได้จากค่าการต้านทานความร้อน (Thermal Resistance) โดยฉนวนที่มีค่าความต้านทานความร้อนสูง จะกันความร้อนได้ดี เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของการใช้ฉนวนสำหรับอาคารในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น คือ การกันความร้อนจากภายนอก ไม่ให้เข้ามาภายในอาคาร ซึ่งนอกจากจะทำให้อาคารเย็นสบายแล้วยังเป็นการประหยัดพลังงานให้กับระบบปรับอากาศของอาคารที่มีการปรับอากาศอีกด้วย ตัวอย่างฉนวนที่กันความร้อนได้ดีมากเช่น โพลียูรีเทนโฟม      

                                                                                                            ก่อนและหลังพ่นโฟมลงพื้นคอนกรีต
 
6)    ความต้านทานต่อความชื้น (Resistance To Water Panetetion)
       สามารถแยกความร้อนความเย็น ที่พื้นผิว จึงไม่เกิดการก่อตัวของไอน้ำอันเนื่องมาจากความชื้นในอากาศ ไม่สามารถทะลุผ่านระหว่างฉนวนกันร้อนกับพื้นผิวได้ ความต้านทานความชื้น เป็นวัตถุประสงค์อีกข้อหนึ่งของการใช้ฉนวนสำหรับอาคารโดยเฉพาะอาคารที่มีการปรับอากาศ ดังนั้นจิงจำเป็นต้องป้องกันความชื้นให้กับฉนวน แม้ว่า ที่ผ่านมาการใช้ฉนวนกันความชื้นให้กับอาคารอาจไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์หลักสำหรับวิศกรและสถาปนิก แต่จากผลการศึกษาสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งมีความชื้นสูงเกือบตลอดเวลา พบว่าการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศจะสูญเสียคุณสมบัติความเป็นฉนวนไป การใช้ฉนวนที่เหมาะสมสำหรับอาคารจึงสามารถ ช่วยป้องกันความชื้นให้กับอาคารได้ด้วย หากฉนวนที่ใช้ไม่มีการกันความชื้นควรป้องกันความชื้นให้กับฉนวนโดยการใช้วัสดุสำหรับกันความชื้น เช่น แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ แผ่นโพลี่เอทิลีน แผ่นพีวีซี หรือแผ่นโพลีเอสเตอร์ ฉนวนมาสติก แอสฟัลต์ ฯลฯ ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติกันความชื้นได้แตกต่างกัน
 
7)  การกั้นไฟ และไม่ลามไฟ(Fire Retardant)
        ฉนวนกันความร้อน P.U.FOAM มีส่วนผสมของสารไม่ลามไฟ ไม่เป็นเชื้อไฟเมื่อโดนไฟเผา จะไหม้เฉพาะส่วนเท่านั้น เมื่อมีไฟฟ้าลัดวงจรอันตรายจากไฟไหม้ เป็นข้อพิจารณาที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง สำหรับการใช้ฉนวนภายในอาคาร เพราะฉนวนที่กันความร้อนได้ดี อาจมีคุณสมบัติการกันไฟไม่ดี สำหรับบางส่วนของอาคารเช่นห้องครัวหรือห้องที่มีอุปกรณ์เกี่ยวกับความร้อน การกันไฟไหม้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาว่าการเผาไหม้ของฉนวนก่อให้เกิดสารพิษมากน้อยขนาดไหน ฉนวนที่กันไฟได้ดีได้แก่ โฟมพียู ผสมสารไม่ลามไฟ ใยแก้ว ใยหิน ใยแร่ แคลเซียมซิลิเกตและเวอร์มิคูไลท์ เป็นต้น

8) ความต้านทานต่อเชื้อราและแมลง(Resistanc To Vermin&Fungus) 
 P.U.FOAM       เป็นฉนวนป้องกันความร้อนที่ให้ความปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นฉนวนกันความร้อนที่สัตว์และแมลงต่างๆ ไม่สามารถเข้าไปอาศัย หรือกัดกินได้ ความต้านทานต่อแมลงและเชื้อรา และความปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญซึ่งมักจะถูกมองข้ามไปในการเลือกใช้ฉนวน สภาพอากาศของประเทศไทยซึ่งมีความชื้นสูงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ ฉนวนเสื่อมสภาพได้ง่าย ฉนวนที่มีความชื้นสูง นอกจากจะมีประสิทธิภาพความเป็นฉนวนต่ำลงแล้วยังเป็นแหล่งเจริญเติบโตของเชื้อรา  ซึ่งเป็นอันตราย ต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยภายในอาคารอีกด้วย ฉนวนบางชนิดโดยเฉพาะฉนวนพวกสารอินทรีย์เช่น เส้นใยเซลลูโลส เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของแมลงบางชนิด ดังนั้นจึงอาจเกิดการเสื่อมสภาพได้ง่ายหากมีแมลงรบกวน การแก้ปัญหาดังกล่าวทำได้ โดยการเลือกใช้ฉนวนที่มีความต้านทานต่อแมลงและเชื้อรา เช่น ฉนวนพวกสารอินทรีย์ได้แก่ แคลเชี่ยมซิลิเกต โฟม ใยแร่ ใยคาร์บอน เป็นต้น หรืออาจมีการติดตั้งวัสดุเพื่อป้องกันแมลง ป้องกันความชื้น  เช่น แผ่นกันความชื้นซึ่งทำจากวัสดุประเภทพลาสติก เป็นต้น

9) การกั้นเสียง(Acoustical Resistance) 
    ฉนวนกันร้อน ชนิดนี้มีโครงสร้างเป็นเชลล์ปิด       สามารถสะกัดกั้น(Block) เสียงได้มากกว่า 70 เดซิเบล สามารถป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกเสียงดังที่เกิดจากภายใน เช่น ห้องเจนเนอเรเตอร์(Generator) ห้องสตูดิโอ(Studio)โรงภาพยนต์(Cinema) ผับ (Pub)  ดีสโก้เทค(Disco Thaqe)ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี การป้องกันเสียง สำหรับบางส่วนของอาคาร ที่ต้องการลดการรบกวนจากเสียงเช่น ห้องนอน ห้องประชุม ห้องสัมนา ฯลฯ จำเป็นต้องเลือกใช้ฉนวนที่มีช่องว่างอากาศมากเมี่อใช้ร่วมกับวัสดุที่มีน้ำหนักมากจะมีส่วนช่วยในการกันเสียงได้ดีขึ้นเช่น พียูโฟม ใยแก้ว เซลลูโลส ใยหิน เป็นต้น

10)  การปลอดจากกลิ่น(Freedom From Ordour)   
    P.U.Foam  ไม่ซึมน้ำไม่อมน้ำ ไม่อุ้มน้ำ จึงไม่ก่อให้เกิดความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นอับที่ไม่พึงประสงค์  การปลอดจากกลิ่นเป็นข้อพิจารณาข้อหนึ่งที่สำคัญต่อการใช้งานฉนวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการใช้งานฉนวนที่ติดตั้งภายในอาคาร ฉนวนที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ หากเกิดการเสื่อมสภาพหรือเกิดการเผาไหม้ จะทำให้ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารได้รับอันตรายการการสูดดมไอระเหย ของสารเคมี ในการเลือกใช้ ฉนวนจึงควรพิจารณาเลือกฉนวนที่มีส่วนประกอบที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่ใช้งาน เมื่อเกิดการเสื่อมสภาพและเกิดการเผาไหม้

11)   ความต้านทานการกัดกร่อน ของสารเคมี(Corrosion&Chemecal Resistance) 
  P.U.Foam      สามารถทนกรด ทนด่างได้ ไม่ละลายในเบนซิน ทินเนอร์ ดีเซล น้ำมันเครื่อง หรือสารละลายต่างๆ ความต้านทานต่อการกัดกร่อนและสารเคมีของฉนวนเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ต้องพิจารณาในการใช้งานการเสื่อมสภาพของฉนวนด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น สารเคมี และสภาพอากาศ ฯลฯ จะทำให้ฉนวนมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นฉนวนที่ดีควรมีความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพ ดังกล่าวได้โดยพิจารณาถึงสภาพลดต่ำลง ในการใช้งานฉนวนว่าได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างแล้วเลือกใช้งานฉนวนที่มีความคงทนต่อสภาพนั้น

12) ไม่มีสารพิษเจือปน(Non Toxic/Irrrant) 
       ฉนวนกันความร้อน โพลียูรีเทนโฟม ไม่มีส่วนผสมของใยหิน(Asbestos) ใยแก้ว(Fible Glass) หรือสารระคายเคืองอื่นๆ จึงไม่เกิดอาการแพ้ ผด ผื่น คัน เมื่อสัมผัส ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีส่วนผสมของสาร CFC11  ไม่มีสารก่อมะเร็ง

13) ประหยัดพลังงาน(Energy Saver)
        ฉนวนป้องกันความร้อน POLYURETHANE FOAM หลังติดตั้ง จะประหยัดไฟได้มากกว่า 40% ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการรั่วซึมของหลังคา หรืออาคารร้าว เนื่องจากได้รับความร้อนและอายุการใช้งานที่ยาวนาน
 
14)   ป้องกันการรั่วซึม (Water Leaking)
       พี.ยู.โฟม สามารถอุดรอยรั่วของหลังคาที่แตก หรือผนังคอนกรีตที่แตกร้าวได้ เพราะโครงสร้างเป็นเชลล์ปิด น้ำจะซึมผ่านไม่ได้ และไม่ก่อให้เกิดเชื้อโรค เชื้อราได้

15)  ติดตั้งง่าย(Easy install) 
       ฉนวนกันความร้อน โพลียูรีเทน เมื่อพ่นจะเซ็ดตัวภายใน 3 วินาที สามารถพ่นติดกับฉนวนทุกอย่างได้เป็นอย่างดี ติดตั้งได้ทั้งใต้หลังคาและบนหลังคา และผนังทุกชนิดเพื่อกันเสียงรบกวน การรั่ว ซึมของน้ำฝน และป้องกันความร้อน ที่ส่งผ่านมาจากหลังคา ผนังได้อย่างครบวงจร

16)   การลงทุนที่คุ้มค่ากว่า (Worth For Investment) 
 
      ถ้านำเอาคุณสมบัติในด้านการนำความร้อน(Termal Conductivity) มาเปรียบเทียบในเชิงวิศวกรรมที่เท่ากัน จะพบว่าต้นทุนต่อหน่วย จะถูกกว่าฉนวนตัวอื่นๆ ทั้ง ด้านคุณสมบัติ และอายุการใช้งาน เป็นฉนวนป้องกันความร้อนที่คุณสมบัติที่ครบถ้วนชนิดเดียวในประเทศ ที่สามารถป้องกันความร้อน    ป้องกันความเย็น ป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝน ป้องกันเสียงดังจากฝนตก ในห้องสตูดิโอ ในโรงภาพยนตร์ ดิสโก้เทค ฯลฯ







  <<<< บริษัท เอส.เอฟ.อินซูเลชั่น  จำกัด>>>>

  ที่อยู่    เลขที่50/13   หมู่12   ถนน บางกรวย-ไทรน้อย

  ตำบล บางบัวทอง  อำเภอ บางบัวทอง จังหวัด นนทบุรี

              Tel:02-006-9609          Fax:02-006-9610 

 Hotline: 097-289-8787 (คุณสวิส)   083-245-3406 (คุณนุช)

.