การดูดซับเสียง/ควบคุมเสียง
การควบคุมเสียงสำหรับอาคาร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการออกแบบเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการใช้งาน ของแต่ละพื้นที่ใช้สอยในอาคาร โดยเสียงที่มีผลกระทบต่ออาคารจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือเสียงจากภายนอกอาคาร (External Noises) และเสียงจากภายในอาคา(Internal Noises)การป้องกันเสียงจากภายนอก สามารถที่จะป้องกันเสียงได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
1) ควบคุมด้วยระยะทาง ทุกระยะห่างจากต้นกำเนิดเสียง ความดังของเสียงจะลดลง อาทิ หากที่ดินของบ้านอยู่ติดถนนหรือบริเวณที่มีเสียงรบกวน อาจจะต้องวางตำแหน่งอาคารให้ไกลออกจากถนนให้มากเท่าที่จะทำได้
2)หลีกเลี่ยงบริเวณที่เสียงกระทบโดยตรง อาทิ การทำแผงหรือผนังกันเสียง ซึ่งอาจเป็นผนัง แนวรั้ว แนวต้นไม้ ที่จะช่วยกั้นเสียงและลดความเข้มของ เสียงโดยตรงก่อนที่จะที่จะถึงอาคาร
3) การวางผังอาคาร โดยให้พื้นที่ใช้สอยส่วนที่ไม่ต้องการความเงียบมากเป็นตัวป้องกันเสียง หรือกำหนดตำแหน่งช่องเปิดของอาคารหลีกเลี่ยงแนวทางของเสียง
4) การเลือกใช้วัสดุกันเสียงให้กับกรอบอาคาร
อาทิ การบุฉนวนใยแก้วให้กับผนังกรอบอาคาร การเลือกใช้กระจกสองชั้น หรือการใส่ฉนวนกันเสียงให้กับส่วนหลังคาอาคาร
ส่วนการป้องกันเสียงจากภายในอาคาร จะแบ่งเสียงภายในออกเป็น 2 ประเภท คือ เสียงโดยตรง(Direct Noise) และเสียงสะท้อน (Reverberant Noise) สามารถที่จะป้องกันเสียงได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
1)ลดเสียงจากแหล่งกำเนิด เสียงโดยตรง สามารถลดได้ด้วยการใช้แผงกั้นระหว่างต้นกำเนิดเสียงกับผู้ฟังเก็บต้นกำเนิดเสียงไว้ในกล่อง /ห้องที่ปิดมิดชิดที่ทำด้วยวัสดุป้องกันเสียง / ห้องที่มีผนังหนาทึบ หรือทำพื้นสองชั้นที่มีความยืดหยุ่นรองรับเครื่องกล เพื่อช่วยลด Structure-borne Sound ส่วนเสียงสะท้อนสามารถลดโดยการใช้วัสดุดูดซึมเสียงที่ผนัง โดยเฉพาะด้านที่ทำให้เกิดเสียงสะท้อนมาก
2) ลดเสียงที่มาตกกระทบ โดยการวัสดุดูดซับเสียง และวัสดุป้องกันเสียง อาทิ การใช้แผ่นฉนวนเยื่อกระดาษบุเสริมตรงผนังด้านที่เป็นทางต้นกำเนิดเสียง หรือบุแผ่นชานอ้อยเพื่อดูดซับเสียงในโรงแสดงมหรสพ
3) การวางผังอาคาร โดยการแยกบริเวณที่มีเสียงดัง ออกจากบริเวณที่ต้องการความเงียบ หรืออาจจะกั้นพื้นที่สองส่วนนี้ด้วยห้องอื่น
วัสดุดูดซับเสียง ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีหลายลักษณะ พอแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
1) วัสดุดูดซับเสียงที่โปร่งเบาเป็นฝอยเป็นรูพรุน เช่น ฉนวนเยื่อกรระดาษเซลลูโลส ฉนวนใยหิน ฉนวนใยแก้ว ฉนวนโฟมโพลียูรีเทน ประเภทต่างๆคุณสมบัติก็แตกต่างกันไป ตามความแข็งแรง ความหนาแน่น และการใช้งาน เหมาะสำหรับเสียงที่มีความถี่สูง
2) วัสดุดูดซับเสียงที่มีผิวปรุเป็นรู แผ่นดูดซับเสียงยิบซับบอร์ดที่มีรู แผ่นชานอ้อย แผ่นไม้กอร์ก สำหรับเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับเสียง
3) วัสดุดูดซับเสียงที่เป็นเยื่อแผ่น ผนังที่มีหลายชั้นกระจกสองชั้น หรือการติดผ้าม่านให้กับผนัง/ช่องเปิดสำหรับเสียงที่มีความถี่ต่ำ
4) วัสดุดูดซับเสียงที่พื้นผิวมาก ที่ช่วยลดเสียงสะท้อน ผนังที่มีการออกแบบ เป็นช่องๆ รูปแบบต่างๆ ซึ่งลักษณะการใช้งานก็แตกต่างกันไปตามการใช้งาน อาจมีหลายลักษณะประกอบกันไปเพื่อประสิทธิภาพการควบคุมเสียงที่เหมาะสม หรือจะใช้วัสดุที่มีพื้นผิวมากประกอบกับวัสดุที่เป็นรูพรุน
วัสดุดูดซับเสียงลักษณะต่างๆในการเลือกใช้วัสดุเหล่านี้ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากจะต้องคำนึงถึงการดูดซับเสียงสะท้อน ป้องกันเสียงไม่ให้ทะลุผ่าน ยังคงต้องควบคุมให้เสียงกระจายไปในทิศทางที่เหมาะสมกับการใช้งานอีกด้วย
การควบคุมเสียงในอาคาร (Noise Control) จะต้องคำนึงถึงประเภทของอาคาร ประเภทของห้องหรือพื้นที่ใช้สอยในแต่ละส่วนตามการใช้งาน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการระดับความดังของเสียงที่เหมาะสม ดังที่กล่าวมา ดังนั้น พื้นที่ใช้สอยที่ต้องคำนึงถึงการออกแบบระบบเสียงเป็นเรื่องสำคัญ อาทิการออกแบบภายในโรงภาพยนตร์ โรงละคร หรือห้องฟังดนตรี ที่ตำแหน่งของผู้ฟังในทุกจุดภายในห้อง